top of page

     RMUTI THAI MEISTERSCHULE เป็นวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญสูงทางด้านอุตสาหกรรมที่มีฝีมือที่ยอดเยี่ยมเป็นที่ยอมรับมายาวนาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 1 ตุลาคม 2506 โดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้มีการลงนามความร่วมมือช่วยเหลือจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางด้านช่างฝีมือให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และเลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นที่ตั้ง โดยใช้ชื่อว่าวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น หรือ เทคนิคไทย - เยอรมัน และในปี 2560 สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานได้จัดตั้ง วิทยาลัยไมส์เตอร์แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (RMUTI THAI MEISTERSCHULE) ขึ้น

       ตลอดระยะเวลามากกว่า 50 ปี มาแล้วที่เราได้ผลิตบัณฑิตผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพกว่า 100,000 คน จึงมั่นใจได้ว่า RMUTI THAI MEISTERSCHULE จะผลิตผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคนิคในสถานประกอบการ ครูฝึกช่างเทคนิคเชี่ยวชาญสูง และนักบริการจัดการด้านอุตสาหกรรม ที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และพัฒนาทักษะวิชาชีพเชี่ยวชาญสงสู่มาตรฐานสากล ให้เป็นที่รู้จักในฐานะ RMUTI THAI MEISTERSCHULE ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยที่ผลิตช่างฝีมือระดับต้นๆ ของประเทศไทย

RMUTI THAI MEISTERSCHULE

1. การทำงานเป็นระบบและมีมาตรฐานมากขึ้น

2. บุคลากรมีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ

3. บุคลากรมีความก้าวหน้าในสายอาชีพ

4. สามารถวางแผนในการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. สามารถลดต้นทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

 ประโยชน์และความสำคัญของ "MEISTER" 

1. จัดการสอนหลักสูตรครูฝึกวิชาชีพและนักวิชาชีพเชี่ยวชาญสูงมาตรฐานเยอรมัน (Meister)

2. จัดการสอนหลักสูตรที่จัดทำร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและวิทยาลัยไทยไมส์เตอร์ (Tailor-made training course)

3. เป็นศูนย์การศึกษาต่อเพื่ออาชีพ ณ ต่างประเทศ

 ภารกิจหลักของวิทยาลัยไทยไมส์เตอร์ 

 

1. พัฒนาสถาบันอาชีวศึกษาของไทย โดยเฉพาะโรงเรียนสาขาวิชาชีพหรือวิทยาลัยเทคนิค โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเยอรมนี ที่เป็นต้นแบบของ dual system

2. สร้างแรงงานฝีมือในประเทศ เพื่อรองรับอุปสงค์ของภาคธุรกิจและการดำเนิน Mega Projects ของรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมต่อ Thailand 4.0 ด้วย

3. ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทเยอรมันที่มีกิจการในไทยเยอรมัน เนื่องจาก dual system สามารถตอบสนองความต้องการแรงงานฝีมือ โดยก่อนหน้านี้บริษัทเยอรมันหลายๆ ราย ได้ริเริ่มความร่วมมือ โดยร่วมพัฒนาหลักสูตร dual system กับสถาบันการอาชีวศึกษาไทยแล้ว

4. ส่งเสริมนโยบายการเป็น hub ด้านการศึกษาของไทยในภูมิภาค เนื่องจากในระยะต่อไป ไทยสามารถเป็นศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรของประเทศเพื่อนบ้าน

 ผลประโยชน์ของระบบทวิภาคีต่อประเทศไทย 
Anchor 1
bottom of page